วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Subprime

Subprime
Subprime lending (also known as B-paper, near-prime, or second chance lending) is the practice of making loans to borrowers who do not qualify for the best market interest rates because of their deficient credit history. The phrase also refers to banknotes taken on property that cannot be sold on the primary market, including loans on certain types of investment properties and certain types of self-employed persons.
Subprime lending is risky for both lenders and borrowers due to the combination of high interest rates, poor credit history, and adverse financial situations usually associated with subprime applicants. A subprime loan is offered at a rate higher than A-paper loans due to the increased risk. Subprime lending encompasses a variety of credit instruments, including subprime mortgages, subprime car loans, and subprime credit cards, among others. The term "subprime" refers to the credit status of the borrower (being less than ideal), not the interest rate on the loan itself.
Subprime lending is highly controversial. Opponents have alleged that the subprime lending companies engage in predatory lending practices such as deliberately lending to borrowers who could never meet the terms of their loans, thus leading to default, seizure of collateral, and foreclosure. There have also been charges of mortgage discrimmination on the basis of race.Proponents of subprime lending maintain that the practice extends credit to people who would otherwise not have access to the credit market.The controversy surrounding subprime lending has expanded as the result of an ongoing lending and credit crisis both in the subprime industry, and in the greater financial markets which began in the United States. This phenomenon has been described as a financial contagion which has led to a restriction on the availability of credit in world financial markets. Hundreds of thousands of borrowers have been forced to default and several major American subprime lenders have filed for bankruptcy.


สินเชื่อซับไพรม์
สินเชื่อซับไพรม์ (Subprime Lending) (เรียกในชื่ออื่นๆว่า B-paper, near-prime, หรือ second chance lending) คือการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ยืมซึ่งไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนพอจะได้รับอัตราดอกเบี้ยของตลาดที่ดีที่สุด (best market interest rates) อันเนื่องจากมีข้อด่างพร้อยในประวัติการกู้ยืมและชำระเงิน (credit history)
สินเชื่อซับไพรม์มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งผู้ปล่อยและผู้ขอสินเชื่อ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง, ประวัติการกู้ยืมและชำระเงินที่ไม่ดี, และสถานการณ์ทางการเงินอันไม่พึงปรารถนาซึ่งผู้ขอกู้ซับไพรม์ไปข้องเกี่ยวด้วย สินเชื่อซับไพรม์จะถูกปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า สินเชื่อ A-paper (สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ชั้นหนึ่ง) เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น สินเชื่อซับไพรม์ครอบคลุมตราสารทางการเงินหลายชนิด อาทิเช่น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อซื้อรถ และบัตรเครดิต คำว่า ซับไพรม์ (ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ชั้นรอง") เป็นการอ้างอิงถึงสถานะการกู้ยืมและชำระเงินของผู้กู้ยืม ไม่ใช่ตัวดอกเบี้ยของสินเชื่อแต่อย่างใด
สินเชื่อซับไพรม์เป็นที่ถกเถียงในวงกว้างถึงความเหมาะสม ฝ่ายผู้ต่อต้านกล่าวอ้างว่าบริษัทซึ่งปล่อยสินเชื่อซับไพรม์มักกระทำการปล่อยสินเชื่ออย่างเอารัดเอาเปรียบ (predatory lending) อาทิเช่น จงใจปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ซึ่งไม่มีวันจะสามารถทำตามเงื่อนไขการกู้ยืมได้ จนทำให้ไม่สามารถชำระเงินคืนตามเวลาที่กำหนด (default), ถูกยึดหลักประกัน และต้องเผชิญกับการยึดทรัพย์ นอกจากนั้น ยังมีข้อกล่าวหาถึงการเลือกปฏิบัติในการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (morgage discrimination) ตามเชื้อชาติ. ในขณะที่ผู้เห็นด้วยกล่าวสนับสนุนว่าการปล่อยสินเชื่อซับไพรม์เป็นการช่วยให้เงินกู้เข้าถึงมือประชาชนผู้ซึ่งโดยปกติไม่อาจเข้าถึงตลาดเงินกู้ได้.ข้อถกเถียงว่าด้วยสินเชื่อซับไพรม์ได้ขยายวงขึ้นอันเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ชั้นรอง ปี 2550 อันเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในอุตสาหกรรมซับไพรม์เอง และตลาดการเงินชั้นสูงกว่า และมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ปรากฏการณ์นี้ถูกอธิบายว่าเป็น "การแพร่ระบาดทางการเงิน" (Financial Contagion) ซึ่งนำไปสู่การเข้มงวดกวดขันการเข้าถึงสินเชื่อในตลาดการเงินโลก ผู้กู้หลายพันรายถูกบังคับให้ชำระหนี้ก่อนกำหนด และสถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่อซับไพรม์สัญชาติอเมริกันรายใหญ่หลายแห่งก็ถูกฟ้องร้องให้ล้มละลาย

ไม่มีความคิดเห็น: