วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันขอบคุณพระเจ้า


Thanksgiving Day
Thanksgiving, or Thanksgiving Day, is a traditional North American holiday to give thanks for the things that one has at the conclusion of the harvest season. Thanksgiving is celebrated on the fourth Thursday of November in the United Ststes and on the second Monday of October in Canada
วันขอบคุณพระเจ้า
วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เป็นวันหยุดหนึ่งวันสำหรับการระลึกถึงและขอบคุณพระเจ้าในช่วงสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ในสหรัฐอเมริกา วันขอบคุณพระเจ้าจะตรงกับวันพฤหัสบดีที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในขณะที่ในประเทศแคนาดาจะตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคม ประเพณีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการอพยพของชาวยุโรปมาที่ทวีปอเมริกาเหนือ ถึงแม้ว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีหนึ่งของบุคคลในทวีปอเมริกาที่นับถือศาสนาคริสต์ แต่ในทวีปยุโรปนั้นไม่มีประเพณีนี้
ในวันขอบคุณพระเจ้านี้ชาวอเมริกันจะใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวและรับประทานอาหารมื้อใหญ่ด้วยกัน โดยอาหารที่นิยมรับประทานจนเป็นประเพณีคือไก่งวง และนอกจากนี้ในเมืองนิวยอร์กจะมีขบวนพาเหรดที่มีชื่อเสียงจัดโดยห้างสรรพสินค้า เมซีร์ ในชื่อ เมซีส์เดย์พาเหรด (Macy's Day Parade)

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Christmas

History
A winter festival was traditionally the most popular festival of the year in many cultures. Reasons included less agricultural work needing to be done during the winter, as well as people expecting longer days and shorter nights after the winter solstice in the Northern Hemisphere. In part, the Christmas celebration was created by the early Church in order to entice pagan Romans to convert to Christianitr without losing their own winter celebrations.Most of the most important gods in the religions of Ishtar and Mithra had their birthdays on December 25. Various traditions are considered to have been synoretised from winter festivals including the following

ประวัติ
คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า" Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส
แห่งจักวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

ซานตาคลอส
นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ซานตาครอสจริงๆแล้ว แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย นักบุญนิโคลาส เป็นนักบุญ ที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็อยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้ เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติ ของเขา
คำอวยพรสำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส

สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนเจิญกรุง36 เขตบางรัก กรงเทพมหานคร ริมแม่นตำเจ้าพระยา ข้างโรงแรมโอเรียนเเต็ลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ฝ่ายการทูตและฝ่ายกงสุล
ฝ่ายความร่วมมือและวัฒนธรรม และแผนกวีซ่า ตั้งอยู่เลขที่ 29 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 25 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 1 ถนนพระราม 4 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

ประวัติ
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ 2400 เมื่อนายมองตันยี กงศุลฝรั่งเศส ได้เช่าพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้ ขนาดประมาณ 4 ไร่ ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน 2418 ร.5 ได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับเอกสารกรรมสิทธิ์ ในปี 2468 อาคารสถานทูตก่อสร้างโดยช่างชาวอิตาเลียน เป็นอาคารยกพื้นสูงมาก มีระเบียงด้านหน้า สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอิตาเลียน
การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พ.ศ.2436 กองทัพฝรั่งเศสใช้เรือรบเดินทางเข้ามาเทียบท่าถึงบริเวณสถานทูต ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงทำทางเข้าทางถนนอีกทางหนึ่ง
อาคารสถานทูตได้รับการซ่อมแซมระหว่างปี 2502-2511 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ.2527

ความสัมพันธ์ทางการทูตและสนธิสัญญา
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนนี้ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีคณะผู้แทนของรัฐบาลฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ต่อมามีคณะกงสุลประจำ ต่อมาในปี 2430 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นคณะผู้แทนทางการทูตซึ่งไม่มีเอกอัครราชทูตเป็นผู้นำ (légation) มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต มาประจำประเทศไทยตั้งแต่ 2492
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ นายโลรองต์ โอแบล็ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2546