วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

Chien
Le chien (Canis lupus familiaris) est un mamifère domestique de la famille des canidés, proche du loup. Le chien n'est plus, pour le moment, considéré comme une espèce à part entière mais comme une sous-espèce de Canis lupus. Chien et loup sont ainsi de même espèce. Les anciennes appellations scientifiques du chien, Canis canis ou encore Canis familiaris, ne sont donc plus d'actualité.
C'est aussi une appellation pour plusieurs autres espèces de canidés de type Atelocynus
et Speothos, voire de rongeurs du genre Cynomys (chien de prairie
).
La femelle du chien s'appelle la chienne et un jeune chien est appelé un chiot. Le chien glapit, jappe ou aboie.
Il existe de nombreuses races
de chiens. Environ les trois quarts de celles reconnues sont très anciennes et issues de la sélection naturelle sur la morphologie, combinée à une sélection artificielle sur le comportement (exemples : Husky sibérien, Berger deBrie). Le dernier quart est issu d'une sélection artificielle récente (exemples : Berger allemand, Golden Retriever
) ; ces dernières sont souvent les plus populaires car modelées à la convenance de l'homme.

สุนัข หรือ หมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ ตีนหน้า มี 5 นิ้ว ตีนหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน

มอลทีส (MALTESE)
สุนัข MALTESE มีถิ่นกำเนิดในประเทศ MALTA (แถบทะเลเมอร์ดิเตอริเนียน) มานานเกือบ 2800 ปีแล้ว นักเขียนหรือนักวาดภาพในสมัยโบราณมักนิยมเขียนเรื่องราวหรือภาพของสุนัขพันธุ์นี้อยู่เนืองๆ และเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้คนสมัยนั้น และจนกษัตริย์อียิปต์โบราณและ QUEEN VICTORIA ด้วย MALTESE เป็นสุนัขที่มีขนมีขาวสะอาดมีสุขภาพดี คล้ายสุนัขใหญ่กลุ่ม SPANIEL ในปี ค.ศ. 1607 มีการซื้อขายพันธุ์ MALTESE ตัวหนึ่งสูงถึง 2000 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 50000 บาท

แจแปนนิส ชิน (Japanese Chin)
สุนัขพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในสมัยนั้นสุนัขพันธุ์นี้มักจะอาศัยอยู่ในวัดจีน ต่อมาจักรพรรดิ์ของจีนได้มอบสุนัขพันธุ์นี้เป็นของขวัญแก่จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น สุนัขพันธุ์นี้ได้เพิ่มจำนานขึ้นมากมายในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ก็ได้มอบสุนัขพันธุ์นี้ให้เป็นของขวัญแก่ Queen Victoria ของประเทศอังกฤษและผู้นำของประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย สุนัขพันธุ์ Japanese Chin สามารถอาศัยอยู่ได้ในสภาวะอากาศแบบต่างๆได้ดี

ชิวาวา (Chihuahau)
สุนัขพันธุ์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 มีถิ่นกำเนิดในดินแดนที่เป็นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบันในการค้นพบทวีปอเมริกาของ CHRISTOPHER COLUMBUS ก็มีบันทึกการค้นพบสุนัขพันธุ์ชิวาวานี้ด้วย จากตำนานกล่าวว่าชาวพื้นเมืองนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิวาวามาก และเกิดความเชื่อถือในเรื่องโชคลางต่างๆ ตลอดจนมีการนำสุนัขพันธุ์นี้ไปใช้ในพิธีบูชายันต์ มีผู้พบภาพสลักของสุนัขพันธุ์ตามก้อนหินต่างๆ และในถ้ำสุนัขพันธุ์ชิวาวามี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว

Chat

Le chat domestique est un mamifère carnivore de la famille des fèlidés.Le mot chat vient du bas-latin cattus (chat sauvage). D'après le Littré dans son édition de 1878, cattus proviendrait du verbe cattare, qui signifie guetter, ce félin étant alors considéré comme un chasseur qui guette sa proie. Le chat domestique Felis silvestris catusest très proche du chat sauvage européen Felis silvestris silvestriset du chat sauvage africain (chat ganté) Felis silvestris libyca. Selon la plupart des zoologues contemporains, ces trois types de chats forment une unique espèce : Felis silvestris. Cependant les expériences d'hybridation donnent des produits féconds entre le chat domestique et Felis silvestris lybica, alors que ce n'est pas le cas avec Felis silvestris silvestris. L'appellation Felis catus n’est plus valide.
แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Felis Domesticus อยู่ในตระกูล Falidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันธุ์ทาง
แมวเข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมว Abyssinian
Coix lacryma-jobi
Coix lacryma-jobi, la Larme-de-Job, est une espèce de Poaceae(Graminées) des lieux humides originaire de Birmanie.
Distribution
Cette espèce est originaire des régions tempérées-chaudes d'Asie : Chine, sous-continent indien, Indochine, Malaisie, Philippines, Myanmar.
Elle est largement cultivée dans toutes les régions tropicales et subtropicales

Utilisation
L'extrait de graines est utilisé en médecine traditionnelle chionise sous le nom de Yi Yi Ren selon les allégations traditionnelles suivantes : « Fait écouler l'eau, tonifie la rate, élimine les obstructions ». Fait également partie de la pharmacopée Lao.

ธัญพืชธัญพืช (Cereal) คือเป็นพืชจำพวกหญ้าที่เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด มีการเพาะปลูกกันทั่วโลกมากกว่าผลผลิตทางเกษตรชนิดใดๆ และเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานแก่มนุษย์มากที่สุด ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ธัญพืชจะเป็นอาหารหลักของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วการบริโภคธัญพืชจะน้อยลง

ลูกเดือย เป็นธัญพืชประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยอาหารสูง เป็นพืชตระกูลเดียวกับข้าว โดยมีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว เม็ดจะออกกลม ๆ รี ๆ รสชาติออกมันเล็กน้อย


Attentats du 11 septembre 2001
L’expression attentats du 11 septembre 2001 (abréviations : 11/9, 11 septembre ou 11-Septembre et, en anglais, 9/11) désigne une série d’évènements qui ont eu lieu dans le nord-est des États-Unis le mardi 11 septembre 2001 : trois avions commerciaux se sont écrasés contre des immeubles hautement symboliques : les tours jumelles du World Trade Center à Manhattan, New York, et le Pentagone, siège du ministère de la Défense des États-Unis, à Washington. Un quatrième avion s'est écrasé en rase campagne à Shanksville, Pennsylvanie La thèse de l'attentat suicide islamiste a très vite été présentée par les autorités américaines et reprise par les grands médias, puis soutenue par le rapport de la commission chargée d’enquête (Commission Kean), publié fin août 2004. Selon cette thèse, les dix-neuf pirates de l’air qui ont effectué ces attentats-suicides étaient membres d’Al-Quaïda. Les attentats du 11 septembre restent à ce jour le plus important attentat terroriste de l’histoire contemporaine et l’une des journées les plus sanglantes qu’ait connu l’Amérique sur son territoire après la bataille d'Antietam(1862). Ils ont été vécus presque en temps réel par des centaines de millions de téléspectateurs à travers le monde. La surprise et le choc psychologique ont été considérables au sein des opinions publiques, notamment en Amérique et en Occident. Ils ont généré des effets puissants et persistants, notamment politiques et économiques. Le gouvernement des États-Unis a adopté une législation sécuritaire et s'est lancé dans une « querre contre le terrorisme» à l'échelle internationale en dénonçant un « Axe du Mal» international.
Les victimes directes de ces événements ont été chiffrées à 2 973 morts et 24 disparus. Plusieurs milliers de personnes blessées et des milliers d’autres, notamment parmi les sauveteurs, sont atteintes de maladies induites par l’inhalation de poussières toxiques.

วินาศกรรมเวิลด็เทรดเซ็นเตอร์


วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 เป็นเหตุการณ์วินาศกรรมของการปล้นเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาโดยเครื่องบินพาณิชย์ ได้ชนเข้ากับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และ เพนตากอน

ลำดับแห่งเหตุการณ์วินาศกรรม

วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แต่เพียงแห่งเดียว อาคารทรง 5 เหลี่ยมของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ตั้งชื่อตามรูปร่างอาคารว่าเพนตากอน ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้มีเครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกจี้ด้วยเหมือนกันแต่ไม่สามารถชนตึกได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต
เครื่องบินที่ถูกจี้ทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767
-200ER จำนวน 2 ลำ(จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และจากสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757
-200(จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น
ลำดับเหตุการณ์ตามเวลาประเทศไทยในเหตุการณ์พอจะสรุปได้ดังนี้


วันที่ 11 กันยายน 2544
19:45 น. เครื่องบินโดยสารของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์
เที่ยวบินที่ 11 จากบอสตันเข้าชนตึกเหนือ(ตึก 1 เป็นตึกที่มีเสาอากาศเห็นได้ชัด)ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วฉีกตัวตึกเป็นช่องพร้อมทั้งเกิดไฟไหม้
20:03 น. เครื่องบินโดยสารของสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์
เที่ยวบินที่ 175 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนตึกใต้(ตึก 2)ของตึกเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ และระเบิดรุนแรง
20:43 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 77 ของสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ ชนอาคารเพนตากอน เกิดควันไฟพวยพุ่ง มีการอพยพคนในทันที
20:45 น. มีการอพยพคนที่ทำเนียบขาว
21:05 น. ตึกใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มยุบลง ท้องถนนปกคลุมด้วยกลุ่มควัน
21:10 น. บางส่วนของอาคารเพนตากอนถล่ม ขณะเดียวกันก็มีรายงานการตกของเครื่องบินโดยสารของ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ที่เขตชนบทของซอมเมอร์เซ็ต รัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพิตส์เบิร์ก
21:13 น. อาคารที่ทำการของสหประชาชาติเริ่มขนย้ายผู้คน โดยเป็นคนของสำนักงานใหญ่จำนวน 4,700 คน และจากยูนิเซฟกับฝ่ายอื่นของสหประชาชาติอีก 7,000 คน
21:28 น. ตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถล่มยุบตัวลงคล้ายกับถูกตอกด้วยเสาเข็มจากด้านบน เกิดฝุ่นอันหนาทึบ และเศษหักพังกระจายไปทั่ว
21:45 น. อาคารที่ทำการของรัฐทุกตึกในวอชิงตันอพยพคนทั้งหมด
21:48 น. ตำรวจยืนยันมีเครื่องบินตกที่ซอมเมอร์เซ็ต
21:53 น. ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งขั้นต้นของนิวยอร์ก
22:18 น. สายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกจี้ โดยเที่ยวบินที่ 11 เป็นเครื่องโบอิ้ง 767-200ER มีลูกเรือ 11 คน และผู้โดยสาร 81 คน ซึ่งกำลังเดินทางไปยังลอส แองเจลิส ส่วนเที่ยวบินที่ 77 เป็นเครื่อง 757-200 กำลังเดินทางไปลอส แองเจลิส โดยมีผู้โดยสาร 58 คน ลูกเรือ 6 คน เครื่อง 767-200ER เป็นลำที่ชนตึกเหนือของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ และเครื่อง 757-200 ชนเพนตากอน
22:26 น. ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกจี้ โดยเที่ยวบินที่ 93 ออกจากนิวอาร์ก รัฐเดลาแวร์ ไปยังซานฟรานซิสโก และตกที่เพนซิลวาเนีย
22:59 น. ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินเที่ยวบินที่ 175 ที่กำลังเดินทางไปลอส แองเจลิส มีผู้โดยสาร 56 คน ลูกเรือ 9 คน เป็นลำที่ชนตึกใต้ของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์
23:04 น. สนามบินลอส แองเจลิส ซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบิน 3 ลำ อพยพคนทั้งหมด
23:15 น. สนามบินซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบินเที่ยวบินที่ 93 อพยพคนทั้งหมด

วันที่ 12 กันยายน 2544
03:10 น. ตึก 7 ซึ่งมี 47 ชั้นของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เกิดไฟไหม้
04:20 น. ตึก 7 ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่มีคนอยู่แล้วถล่ม การถล่มเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากตึก 1 และ 2 (ซึ่งอยู่คนละฝั่งถนน)ถล่มมาก่อนหน้านี้ ตึกรอบๆ บริเวณก็มีไฟไหม้ด้วย
04:30 น. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรายงานว่าเครื่องบินที่ตกในเพนซิลวาเนียอาจจะมีเป้าหมายในการชน แคมป์ เดวิด หรือ ทำเนียบขาว หรือ อาคารรัฐสภา อาคารใดอาคารหนึ่ง
06:45 น. ตำรวจนิวยอร์กรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่สูญหาย 78 นาย และเชื่อว่าพนักงานดับเพลิงประมาณ 200 นายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
08:22 น. ไฟไหม้ที่เพนตากอนยังควบคุมไม่ได้ แต่สามารถจำกัดเขตการลุกลามได้แล้ว
ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช
ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้มีการออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ มีการขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"
ต่อมามีรายงานว่าตึกอื่นๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด(เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยตึก 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ตึก 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายยับเยินเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544)

สรุปผู้เสียชีวิต
มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,973 คน: 246 คน บนเครื่องบิน, 2,602 คน ใน นครนิวยอร์ก ในอาคารและพื้นดิน, และ 125 คน ในเพนตากอน รวมถึงนักผจญเพลิงนครนิวยอร์ก 343 คน, ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 คน, ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี 37 คน และผู้สูญหายอีก 24 คน