วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550

หนูน้อยหมวกแดง

Le Petit Chaperon Rouge est un conte de la tradition populaire, qui a connu de nombreuses versions au cours de l’histoire. Il s’agit à la base d’un récit pour enfant, mais qui contient des thèmes ayant trait à la sexualitè, à la violence et au cannibalisme. Le conte oppose, dans une convention toute médiévale, l’univers sûr du village aux dangers de la forêt, même si aucune version écrite ne remonte à cette époque. C'est d'ailleurs du Moyen-Âge que le Petit Chaperon tient sa couleur rouge: en effet, les trois couleurs dominantes à cette époque étaient le rouge, le blanc et le noir. Si le loup est noir, le beurre blanc, il fallait donc que l'héroïne soit rouge(réf.nécessaire)On retrouve trace de l’histoire dans la tradition orale de nombreux pays d’Europe, sous différentes versions, antérieures au XVIIe siècle. Les paysans français racontaient l’histoire dès le XIe siècle. L'une des versions orales du conte nous est connue, elle est l'une des plus sanglantes : le Loup, arrivé chez la Mère-grand, la dévore en en gardant toutefois un peu de côté, et prend sa place. La petite fille arrive et, ne se doutant de rien, obéit à la fausse grand-mère lui disant de manger un peu de viande et de boire un peu de vin, en fait la chair et le sang de l'aïeule (la petite fille s'interrogerait même quant aux dents présentes dans la chair, question à laquelle le Loup lui répondrait qu'il s'agit de haricots).
Dans la version italienne de La Finta Nonna (La Fausse Grand-mère), la petite fille l’emporte sur le Loup grâce à sa propre ruse, sans l’aide d’un homme ou d’une femme plus âgée. Le chasseur, personnage ajouté ultérieurement, limite l’héroïne à un rôle plus passif. Certains y verront la volonté de maintenir les femmes « à leur place », dépendante de l’aide d’un homme fort.
La version écrite la plus ancienne est celle de Charles Perrault, parue dans Les Contes de ma Mère l’Oye en 1697. Cette version sera plus malheureuse et moralisatrice que celles qui suivront. L’héroïne en est une jeune fille bien élevée, la plus jolie du village, qui court à sa perte en donnant au loup qu’elle rencontre dans la forêt les indications nécessaires pour trouver la maison de sa grand’mère. Ce dernier mange la vieille dame en se cachant des bûcherons qui travaillent dans la forêt voisine. Il tend ensuite un piège au Petit Chaperon Rouge et finit par la manger. L’histoire en finit là, sur la victoire du loup. Pas de fin heureuse pour l’héroïne, la morale de Perrault est sans appel.
Au XIXe siècle, deux versions distinctes furent rapportées à Jakob Grimm et son frère Wilhelm (les fameux frères Grimm
) : la première par Jeanette Hassenpflug (1791–1860) et la seconde par Marie Hassenpflug (1788–1856). Les deux frères firent de la première version l’histoire principale et de la seconde une suite. L’histoire de Rotkäppchen (La Capuche Rouge) parut dans la première édition de leur collection Kinder- und Hausmärchen (Contes des Enfants et du Foyer, 1812)). Dans cette version, la fillette et sa grand-mère sont sauvées par un chasseur pistant le Loup. La suite montre la fillette et sa grand-mère piégeant et tuant un autre loup, anticipant ses gestes grâce à l’expérience acquise au cours de la première histoire.
Les frères modifièrent l’histoire dans les éditions postérieures, jusqu’à atteindre la version la plus connue dans l’édition de 1857. Cette version édulcorée, largement répandue, raconte l’histoire d’une petite fille qui traverse la forêt pour apporter une galette, un pot de beurre et de la confiture à sa grand-mère. En chemin, la fillette fait la rencontre d’un loup, qui la piège à la fin et la dévore elle et sa grand’mère. Un chasseur vient néanmoins pour les sauver en ouvrant le ventre du Loup. Le Petit Chaperon rouge et sa grand-mère en sortent saines et sauves.
Le thème du personnage mangé par le Loup et sorti du ventre renvoie au conte de Pierre et le loup
หนูน้อยหมวกแดง
บทแปลเนื้อเรื่อง
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหนูน้อยผู้น่ารักอยู่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของทุกๆคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณยายของหนูน้อย. มีอยู่ครั้งหนึ่ง คุณยายได้ให้หมวกผ้ากำมะหยี่สีแดงแก่หนูน้อย หนูน้อยชอบหมวกนี้มาก และได้ใส่หมวกนี้ไปไหนมาไหนตลอดเวลา จนทุกคนเรียกหนูน้อยนี้ว่า หนูน้อยหมวกแดง
มีอยู่วันหนึ่ง คุณแม่ได้พูดกับหนูน้อยว่า "หนูน้อยหมวกแดงมาหาแม่ซิจ๊ะ ในนี้มีขนมเค้กอยู่หนึ่งชิ้น และ ไวน์อยู่หนึ่งขวด หนูเอาไปให้คุณยายนะจ๊ะ คุณยายของหนูป่วย อย่าลืมรักษามรรยาทนะจ๊ะ บอกคุณยายว่าแม่ฝากความคิดถึงมาด้วยล่ะ แล้วอย่าเถลไถล เดินระวังหกล้มของหกนะจ๊ะ เวลาเข้าไปหาคุณยายในบ้าน ให้กล่าวสวัสดี และ ห้ามไปแอบมองตามช่องก่อนเข้าไปล่ะ"
"ทราบแล้วค่ะ หนูจะทำตามที่คุณแม่บอก" หนูน้อยตอบ พร้อมเขย่ามือคุณแม่เป็นเชิงตอบรับ

คุณยายนั้น อาศัยอยู่ในป่าห่างจากหมู่บ้านครึ่งชั่วโมง เมื่อหนูน้อยเริ่มเดินเข้าไปในป่า ก็มีหมาป่าตัวหนึ่งเดินเข้ามาหา. หนูน้อยไม่รู้ว่าหมาป่านั้นเป็นสัตว์ที่ดุร้าย จึงไม่ได้ตกใจกลัวแต่อย่างใด
"สวัสดีจ๊ะ หนูน้อยหมวกแดง" หมาป่าทักทาย
"ขอบคุณค่ะ คุณหมาป่า"
"หนูจะไปไหนแต่เข้าล่ะจ๊ะเนี่ย, หนูน้อยหมวกแดง?"
"ไปบ้านคุณยายน่ะค่ะ"
"แล้ว นั่นหนูถืออะไรมาล่ะจ๊ะ, ที่ผ้าคลุมอยู่น่ะจ๊ะ?"
"คุณยายป่วยน่ะค่ะ หนูกำลังจะเอาขนมเค้ก ที่คุณแม่อบไว้เมื่อวาน กับไวน์ไปให้ คุณยายจะได้หายไวไว"
"หนูน้อยหมวกแดงจ๊ะ แล้วบ้านคุณยายของหนูอยู่ที่ไหนล่ะจ๊ะ ?"
"บ้านของคุณยาย อยู่ใต้ต้นโอ๊ก
ใหญ่ ลึกเข้าไปในป่าประมาณ 15 นาทีน่ะค่ะ ที่มีแนวพุ่มไม้เฮเซิลล้อมอยู่น่ะค่ะ คุณหมาป่าต้องรู้จักแน่ ๆ" หนูน้อยหมวกแดงตอบ
หมาป่าจึงคิดในใจ "หนูน้อยนี้ ท่าทางน่าอร่อยจริง ๆ รสชาติต้องดีกว่ายายแก่หนังเหนียวแน่ ๆ เอาล่ะ ยังไงก็ใช้เล่ห์เหลี่ยม จับกินทั้งคู่เลยละกัน"
หมาป่าเดินเป็นเพื่อนหนูน้อยไปได้สักพัก ก็พูดขึ้นว่า "หนูน้อยหมวกแดงจ๊ะ ลองมองดูดอกไม้รอบ ๆ สิ ช่างสวยงามจริง ๆ หนูน่าจะแวะดูดอกไม้นะ แล้วยังเสียงนกร้อง ที่ช่างไพเราะนั่นอีก หนูไม่ต้องรีบร้อน ค่อย ๆ เดินเหมือนเดินไปโรงเรียน จะได้ชมความงามของป่าด้วย"
เมื่อหนูน้อยหมวกแดงมองดูรอบ ๆ ก็ได้เห็นแสงอาทิตย์ระยิบระยับ ที่ส่องลอดใบไม้ที่กำลังไหว และพื้นดินนั้น ก็ปกคลุมไปด้วยดอกไม้. หนูน้อยจึงคิดว่า "ถ้าเก็บดอกไม้ไปให้คุณยาย คุณยายต้องดีใจแน่ ๆ และตอนนี้ก็ยังไม่สายมาก ยังไงก็คงกลับบ้านตรงเวลา" คิดดังนั้น หนูน้อยจึงวิ่งออกข้างทางเพื่อไปเก็บดอกไม้ ทุกครั้งที่เก็บมาได้ดอกหนึ่ง หนูน้อยก็จะเห็นอีกดอกหนึ่งที่สวยกว่า อยู่ไกลออกไปจากเส้นทาง เมื่อตามเก็บไปเรื่อย ๆ หนูน้อยก็ออกห่างจากเส้นทางเข้าไปในป่าทีละน้อย ทีละน้อย อย่างไม่รู้ตัว ส่วนเจ้าหมาป่านั้น ก็บึ่งตรงไปยังบ้านคุณยาย และเมื่อถึงที่ก็เคาะประตู
"นั่นใครน่ะ?" คุณยายถาม
"หนูน้อยหมวกแดงค่ะ หนูถือเค้กและไวน์มาให้คุณยายน่ะค่ะ คุณยายเปิดประตูหน่อยค่ะ"
"ปลดกลอนที่ประตูก็เข้ามาได้แล้วจ๊ะ" คุณยายตอบ "ยายลุกไปเปิดไม่ไหว"
หมาป่าปลดกลอน เปิดประตู และเดินเข้าไปในบ้าน ตรงไปยังเตียงของคุณยาย และกินคุณยาย แล้วก็เอาชุดนอนของคุณยายมาใส่ เอาหมวกใส่ปิดบังศีรษะ ปิดม่านหน้าต่าง แล้วก็ซุกตัวนอนบนเตียงของคุณยาย
หลังจากที่หนูน้อยหมวกแดง ได้เก็บดอกไม้จนเต็มไม้เต็มมือ ถือเพิ่มไม่ได้อีกแล้ว จึงนึกถึงคุณยายขึ้นมาได้ จึงเดินทางต่อไปยังบ้านของคุณยาย เมื่อไปถึงหนูน้อยก็แปลกใจที่ประตูบ้านนั้นเปิดอยู่ หนูน้อยจึงเดินเข้าไป หนูน้อยรู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ดูแปลก ๆ จึงคิดขึ้น "ทำไมเราถึงรู้สึกกลัวจังเลย ปกติแล้วเราก็ชอบบ้านคุณยายนี่นา"
แล้วหนูน้อยก็ตะโกนทักทาย "อรุณสวัสดิ์ค่ะ" แต่ก็ไม่มีเสียงตอบ

หนูน้อยจึงเดินไปที่เตียงของคุณยาย และเปิดม่านหน้าต่าง คุณยายกำลังนอนอยู่บนเตียง โดยมีหมวกคลุมหน้าอยู่ และหน้าคุณยายก็ดูแปลก ๆ
"คุณยายค่ะ ทำไมหูของคุณยายถึงใหญ่จังเลย!"
"จะได้เอาไว้ฟังหนูพูดได้ชัด ๆ ไงจ๊ะ"
"คุณยายค่ะ ทำไมตาของคุณยายถึงใหญ่จังเลย!"
"จะได้เอาไว้มองดูหนูได้ชัด ๆ ไงจ๊ะ"
"คุณยายค่ะ ทำไมมือของคุณยายถึงใหญ่จังเลย!"
"จะได้เอาไว้จับหนูได้ ถนัด ๆ ไงจ๊ะ"
"คุณยายค่ะ ทำไมปากของคุณยายถึงดูน่ากลัวจังเลย!"
"จะได้เอาไว้กินหนูได้ถนัด ๆ ไงจ๊ะ"
ก่อนที่จะจบคำพูดนั้น หมาป่าก็กระโดดออกจากเตียง และกินหนูน้อยหมวกแดงผู้น่าสงสาร หลังจากอิ่มหมีพีมันแล้ว หมาป่าก็ได้คืบคลานกลับขึ้นไปบนเตียง ผลอยหลับไป และเริ่มกรนเสียงดัง
ขณะนั้นมี นักล่าสัตว์ผ่านทางมา และคิดในใจว่า "คุณยายนี่กรนเสียงดังจริง ๆ น่าจะแวะเข้าไปดูสักหน่อย ว่าเป็นอะไรไปรึเปล่า"
คิดได้ดังนั้น นักล่าสัตว์จึงเดินเข้าไปข้างใน ในขณะที่เดินเข้าไปใกล้เตียงนอน เขาได้พบหมาป่านอนหลับอยู่ "ในที่สุด ก็หาตัวเจอจนได้ เจ้าสัตว์ดุร้าย" นักล่าสัตว์พูด "เสียเวลาไล่ล่าซะตั้งนาน"
ในขณะที่เขาจ่อปืนไปยังหมาป่า ก็เกิดเอะใจขึ้นมา ว่าหมาป่าอาจกินคุณยายเข้าไป และเขาอาจช่วยคุณยายได้ ดังนั้นแทนที่จะใช้ปืนยิง เขาจึงใช้กรรไกรเริ่มตัดหนังท้องหมาป่าให้เปิดออก เริ่มตัดไปได้ไม่เท่าไร เขาก็เห็นหมวกสีแดงข้างใน เขาจึงตัดให้ท้องหมาป่าเปิดกว้างออก แล้วหนูน้อยหมวกแดงก็กระโดดออกมา และร้องคร่ำครวญ "โฮ หนูตกใจกลัวมากเลย! ข้างในท้องของหมาป่า มืดจนมองอะไรไม่เห็นเลย!"
และแล้วคุณยาย ก็ออกมาจากท้องหมาป่า ด้วยอาการหอบหายใจอย่างยากลำบาก แล้วหนูน้อยหมวกแดง ก็ไปหาก้อนหินใหญ่ใส่ในท้องหมาป่าแทน เมื่อหมาป่าตื่นขึ้นมา และพยายามจะวิ่งหนี จึงถูกน้ำหนักก้อนหินที่อยู่ในท้อง ถ่วงล้มลงตายคาที่
ทั้งสามคนจึงลงเอยอย่างมีความสุข โดยนักล่าสัตว์ได้ถลกเอาหนังหมาป่ากลับไป คุณยายได้รับประทานขนมเค้กและไวน์ ที่หนูน้อยหมวกแดงนำมาให้ และหนูน้อยหมวกแดงนั้นคิดในใจว่า "ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จะไม่เถลไถลเข้าไปในป่าคนเดียว ถ้าคุณแม่บอกห้ามไว้"

ไม่มีความคิดเห็น: